ไมเคิ่ล ฟาราเดย์ ยอดนักประดิษฐ์ของโลก

Jokernut | 29/08/2020 09:15 น. | 4991 Views
ไมเคิ่ล-ฟาราเดย์-ยอดนักประดิษฐ์ของโลก

Hand drawn science education background | Free Vector

          ในบรรดานักวิทศาสตร์ของโลก ผมเชื่อว่าใครๆต่างก็ต้องเคยได้ยินชื่อของ ไมเคิ่ล ฟาราเดย์ อย่างแน่นอน ซึ่งวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักกับสุดยอดนักคิดที่สร้างสิ่งประดิษฐ์ให้เราได้ใช้กันมาถึงทุกวันนี้นั่นก็คือ "เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและประดิษฐ์ไดนาโม ที่ภายหลังกลายมาเป็นต้นแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า" นั่นเอง

จุดเริ่มต้นของเด็กชายชาวอังกฤษ

Portrait of a young Michael Faraday, by John Edwards RP, copy of a portrait  by H W Pickersgill. IET Archives. | Michael faraday, Portrait, John edwards

          ไมเคิ่ล ฟาราเดย์” เกิดเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 1791 เขาเกิดในครอบครัวช่างตีเหล็กและมีฐานะค่อนข้างยากจนเลยทีเดียวและนั่นเป็นเหตุผลที่ในวัยเพียง 14 ปีเท่านั้นเด็กชายไมเคิ่ล ต้องออกจากการเรียนหนังสือและรับจ้างป็นพนักงานเย็บหนังสือโดยใช้เวลากับอาชีพนี้นานถึง 7 ปี ก่อนที่เจ้าตัวจะฉุกคิดได้ว่าจริงๆแล้ว ฟาราเดย์ สนใจวิทยาศาสตร์อย่างมาก แม้เขาไม่ได้ศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไปแต่เขาพยายามเรียนรู้ อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายรวมไปถึงเข้าฟังบรรยายทางวิทยาศาสตร์อยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะการบรรยายของของฮัมฟรีย์ เดวี (Humphry Davy) ศาสตร์ตราจารย์ด้านเคมี ที่สนใจมากเป็นพิเศษจนถึงขึ้นเขียนจดหมายเพื่อขอทำงานและที่สำคัญคือ ฟาราเดย์ ได้เข้าทำงานด้วย

Humphry Davy | The Rogue Lady Silence

ความใฝ่ฝันเริ่มปรากฏ

          ปี 1814 ฟาราเดย์ ติดตาม เดวี่ ไปทำงานด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งทำให้เขาได้เดินทางไปหลายประเทศในยุโรปทั้งฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, อิตาลี และ เบลเยียม การเดินทางครั้งนี้ทำให้เด็กหนุ่มชาวอังกฤษคนนี้ได้พบกับนักวิทยาศาสตร์หลายคน จนกระทั่ง 1 ปีต่อคณะเดินทางของ เดวี่ ได้กลับสู่ลอนดอน อีกครั้งและคราวนี้ ฟาราเดย์ ได้โอกาสทำงานด้านวิทยาศาสตร์แบบจริงๆจังๆโดยวิเคราะห์ดินที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา, วิเคราะห์ดินปืน รวมถึงศึกษากระบวนการทางอุตสาหกรรมที่โรงหล่อโลหะ ซึ่งนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการเติมเต็มความฝันของชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฟาราเดย์

          ปลายปี 1820 เขาได้ข่าวที่น่าตื่นเต้นของนักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ ฮันส์คริสเตียน เออร์สเตด ผู้ที่สร้างแบตเตอรี่ไฟฟ้าแบบวอลตาอิก ทำให้ เดวี่และฟาราเดย์ เกิดความสนใจและได้ทำการทดลองซ้ำตามที่เออร์สเตด สาธิตไว้ จนท้ายที่ทั้งคู่ได้พบวิธีการใช้เครื่องมือทดลองแบบหยาบๆนั่นก็คือใช้ปรอทและจุกไม้ก๊อกจะทำให้เกิดไฟฟ้าในเส้นลวดที่หมุนรอบแม่เหล็ก ทำให้เกิดสิ่งคิดค้นที่เรียกว่า "มอเตอร์ไฟฟ้า" ขึ้นมา เขาทำลวดเป็นวงแล้วนำไปต่อกับแบตเตอรี่ มันก็จะกลายเป็นแม่เหล็กอ่อนๆอีกด้วย

ผลงานอันสุดโด่งดัง

ในภาพอาจจะมี 1 คน

          หลังจากประดิษฐ์ "มอเตอร์ไฟฟ้า" เดวี่ และ ฟาราเดย์ ก็ยังเดินหน้าคิดค้นอย่างต่อเนื่องจนเกิดการตีพิมพ์หผลงานของเขาคือ “การหมุนของแม่เหล็กไฟฟ้า” พร้อมกับทำการวิจัยเพิ่มเติม จนถึงขั้นที่ ราชสมาคมลอนดอน ใช้เป็นที่บรรยายในเรื่องที่เขาศึกษาในทุกเย็นวันศุกร์ ช่วงเวลานั้นนับเป็นการสร้างชื่อให้กับ ฟาราเดย์ อย่างมากมายเลยทีเดียว

           ปี 1831 ฟาราเดย์พบว่า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรวงหนึ่ง กระแสนี้จะเหนี่ยวนำให้มีไฟฟ้าไหลในอีกวงจรหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กันได้หรือเมื่อเคลื่อนแท่งแม่เหล็กผ่านเข้าออกในบริเวณตรงกลางของขดลวดจะมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดนั้น ทั้งๆ ที่ขดลวดกับแม่เหล็กไม่มีวัสดุใดเชื่อมต่อถึงกันเลย โดยเราเรียกการค้นพบนี้ว่า “การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า” (Electromagnetic Induction) ซึ่งเป็นหลักการที่อยู่เบื้องหลังหม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การค้นพบวิธีผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำนี้นับว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของ “ไมเคิล ฟาราเดย์” เพราะการค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เป็นการเปลี่ยนจากความอยากรู้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำมาใช้ได้เพราะการคิดค้นครั้งนี้เป็นหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทุกเครื่องในโลก

The Faraday cage: from Victorian experiment to Snowden-era paranoia |  Physics | The Guardian

          แม้ปัจจุบันหลายๆคนอาจจะไม่รู้ที่มาของการเกิดไฟฟ้า แต่ผมก็อยากให้บทความชิ้นเป็นเครื่องรับประกันว่าครั้งนึงเรามีชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฟาราเดย์ ชายชาวอังกฤษที่มุ่งมั่นและรักในหลักการของวิทยาศาสตร์จนเกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ให้คนทั่วโลกได้ใช้กันและวันนี้ก็คือวันครบรอบของ “การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า” ต้นกำเนิดของเครื่องใช้ฟ้าฟ้าในปัจจุบันนั่นเอง

ADS